เมื่อโลกมืดลงจากผลของ Climate Change
Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศโดยเฉลี่ยในพื้นที่บริเวณนั้นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งในทางตรง และทางอ้อม โดยลักษณะอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้นหมายถึง ทั้งการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น รวมไปถึงปรากฏการณ์ การเกิดอุณหภูมิสูงหรือต่ำผิดปกติ ฝนตกหนัก ฝนแล้ง ลมพายุรุนแรง และการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆ ที่ผิดปกติอีกด้วย ซึ่ง Climate Change ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลพวงกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปสะสมในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ทำให้สภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามปกติธรรมชาติส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า ภาวะโลกร้อนนั่นเอง
สถานการณ์ Climate Change ในปัจจุบันยังถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ และเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผิดปกติในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เพิ่มสูงและเลวร้ายขึ้นในทุกๆ ปี การเกิดพายุ หรือ น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี อัตราการเกิดไฟป่าที่เพิ่มกว่าเดิมหลายเท่า หรือ การที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งทางขั้วโลกที่ละลายรวดเร็วกว่าปกติ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผิดปกติเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีแนวโน้มที่จะเลวร้ายขึ้น ถึงแม้จะมีการคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การเกิด Climate Change ออกมามากมาย แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะมารับรองว่าสถานการณ์ Climate Change ที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจะไม่เลวร้ายไปกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
อีกหนึ่งผลกระทบจาก Climate Change ที่ผู้คนคาดไม่ถึง คือ ปรากฏการณ์โลกหรี่แสง ปรากฏการณ์โลกหรี่แสง คือ ความสว่างของโลกที่ลดลง อันเป็นผลมาจากการที่โลกสามารถสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาบนผิวโลกกลับไปยังชั้นบรรยากาศได้น้อยลง ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง และเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ Climate Change ที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน เดิมทีนั้นโลกสามารถสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้ประมาณ 30% แต่ในปัจจุบันอัตราการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ลดลงประมาณ 0.5% ถ้าเทียบกับตัวเลขเมื่อ 20 ปีก่อน โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่ถือได้ว่าอัตราการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ที่ลดลง หมายถึง โลกเราจะดูดซึมความร้อนมากขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนออกไปจากโลกก็จะทำให้อุณหภูมิของโลกเราเย็นเร็วขึ้น ไม่กักเก็บความร้อนไว้บนผิวโลกนาน หรือ เยอะเกินไป แต่เมื่อโลกของเราสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้น้อยลง แสง และความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังผิวโลกยังคงอยู่ อุณหภูมิจะถูกดูดซึม และถูกกักเก็บไว้บนโลก จึงทำให้ผิวโลกของเรามีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นจากเดิม ซึ่งพื้นผิวของโลกที่กักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้หมายถึงแค่เฉพาะผืนแผ่นดินเท่านั้น แต่รวมถึงผืนน้ำด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ต่างมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นทั้งสิ้น และเมื่ออุณหภูมิของน้ำตามแหล่งน้ำสูงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของสัตว์น้ำ และระบบนิเวศในแหล่งน้ำโดยตรง
แนวทางในการรับมือกับปัญหา Climate Change นั้นถือได้ว่าเป็นแนวทางที่ผู้คนทั่วโลกต้องให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากวิกฤติ Climate Change นี้เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลก และหากเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติ Climate Change นี้ได้ มนุษย์ทุกคนก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ การรับมือกับ Climate Change ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่นานาชาติต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการควบคุม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปมากกว่า 2 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย การปรับปรุงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการอนุรักษ์ป่าไม้ที่เป็นหนึ่งในตัวช่วยในการรักษาอุณหภูมิ และควบคุมสมดุลของธรรมชาติ การพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหา Climate Change ทั้งทางตรง และทางอ้อม
สำหรับประเทศไทย บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศภูมิอากาศที่จริงจัง ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยทาง IRPC มีกระบวนการจัดการ รวมถึงการประเมินความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิดวิกฤติการณ์ Climate Change โดยจำแนกความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
- ความเสี่ยงด้านกายภาพ คือ ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
- ความเสี่ยงต่อกฎระเบียบ คือ ความเสี่ยงจากการจากการเสนอราคาคาร์บอนในตลาดผ่านการค้าคาร์บอนแบบกำหนดเพดาน อาทิ Cap-and-Trade และภาษีคาร์บอน
- ความเสี่ยงต่อชื่อเสียง คือ ความเสี่ยงต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร อุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้เสีย ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก ประกอบด้วยภาพลักษณ์ภายในอุตสาหกรรม และโครงการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
- ความเสี่ยงต่อลูกค้า คือ ความเสี่ยงจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ IRPC ที่มีความเสี่ยงในระดับที่ค่อนข้างต่ำ แต่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยความเสี่ยงของตลาดโดยรวม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าของ IRPC
นอกจากมีนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รอบด้าน ปัจจุบัน IRPC มีนโยบายสำหรับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ อาทิเช่น การพัฒนาแบตเตอรี่ และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และการพัฒนาด้านการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต มีการลงทุนในโครงการพัฒนาและวิจัยเพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อให้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทาง IRPC ได้พัฒนา และสร้างสรรค์ขึ้นมาสอดคล้อง และตอบรับกับการแก้ปัญหา Climate Change ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยมลพิษ และลดการใช้พลังงานในขั้นตอนการผลิตอีกด้วย เพื่อให้ IRPC กลายเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีความยั่งยืน และมีวิธีจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยอนุรักษ์โลก และสิ่งแวดล้อมของโลกให้อุดมสมบูรณ์และคงอยู่ต่อไปในอนาคต
อ้างอิง
www.prachachat.net
www.irpc.co.th/sustain/
www.reanrooclimatechange.com
www.setsustainability.com
www.spcg.co.th
climate.tmd.go.th
www.greenpeace.org
www.bbc.com
www.tgo.or.th
actionforclimate.deqp.go.th
www.sdgmove.com
www.facebook.com/tgo.or.th/
www.onep.go.th
phys.org
mgronline.com
www.onep.go.th