PTT Group Sharings
26 ธันวาคม 2564

เทรนด์การศึกษาแห่งโลกอนาคต

จากวิกฤตการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาอันรวดเร็ว แม้ว่าปัจจุบันจะมีวัคซีนที่ช่วยบรรเทาอาการหลังติดเชื้อและลดโอกาสการแพร่กระจายโรค แต่วิถีทางของโลกคงไม่หวนกลับไปเป็นเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป จากรายงานพิเศษของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชื่อดังของโลก McKinsey & Company ในหัวข้อ “The Future Of Work After COVID-19” ที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ทำนายว่าคนทำงานกว่า 25% อาจต้องเปลี่ยนอาชีพ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคและระบบการทำงานอย่างรวดเร็วหลังช่วงการระบาด โดยเฉพาะกลุ่มงานที่มีความใกล้ชิดทางกายภาพสูง เช่นงานบริการทางด้านการแพทย์ พนักงานต้อนรับ และพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงาน จะมีการนำระบบอัตโนมัติ เครื่องจักรกล และ สมองจักรกล (AI) เข้ามาแทนที่ หากงานไหนสามารถทดแทนบนระบบออนไลน์ได้ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการทางช่องทางนั้นแทน เช่นเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ อาจเลือกรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านการวิดีโอคอลในระบบ Telemedicine แทนการเข้ามาพบแพทย์ในโรง พยาบาล ระบบการทำงานทางไกลจากนอกสถานที่ถูกนำมาใช้เป็นความปกติใหม่ (New normal) พนักงานไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่ทำงานหรือเข้ามาเฉพาะเมื่อจำเป็น ทำให้ร้านอาหารร้านค้าในย่านแหล่งออฟฟิศจะมีลูกค้าลดลงการ ประชุมออนไลน์ทำให้เกิดการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจลดลงด้วย ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจการบินการเดินทาง และโรงแรมอย่าง แน่นอน

ในช่วงการระบาดการทำธุรกรรมซื้อขายออนไลน์ หรือ E- commerce ทั่วโลกโตขึ้น 2-5 เท่า ซึ่งจากผลสำรวจของ McKinsey Consumer Pulse ประมาณ 3/4 ของผู้บริโภคเหล่านี้หลังจากได้ ลองใช้ e-commerce เป็นครั้งแรก กล่าวว่าแม้จะสิ้นสุดการระบาดก็ จะซื้อขายออนไลน์ต่อไปเนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งาน การเติบโตของ E-commerce ทำให้ธุรกิจขนส่งสินค้า และโกดังเก็บ สินค้าเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดตามไปด้วย

ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานและการแข่งขันในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น สายอาชีพไหนจะเป็นที่ต้องการ และทักษะแห่ง อนาคตที่บริษัทต่างๆ มองหาคืออะไร จากรายงาน “The Future of Jobs Report 2020” ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum; WEF) อาชีพที่จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในโลกยุคหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ได้แก่

  • นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองจักรกล (AI)
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ข้อมูล Big Data
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและกลยุทธ์ออนไลน์
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Process Automation)
  • นักพัฒนาธุรกิจ (BD)
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กร (Digital Transformation)
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล
  • นักพัฒนาแอปพลิเคชันและโปรแกรม
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ดิจิทัล (Internet of Things/ IoT)
  • ผู้จัดการโครงการ (PM)
  • ผู้จัดการฝ่ายบริหาร (Business Service and Administration Manager)
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการฐานข้อมูลและเครือข่าย
  • วิศวกรหุ่นยนต์
  • ที่ปรึกษาทางด้านกลยุทธ์
  • นักวิเคราะห์ด้านการบริหารจัดการ
  • วิศวกรการเงิน (Fintech engineer)
  • ช่างซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
  • นักพัฒนาองค์กร (OD)
  • นักบริหารจัดการความเสี่ยง

อาชีพแห่งอนาคตเหล่านี้ล้วนต้องการทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การสื่อสารและทำงาน ร่วมกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาและใช้เทคโนโลยี ความพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด

คณะผู้บริหารกลุ่ม ปตท. ระยอง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา และการวิจัยค้นคว้า จึงได้ก่อตั้ง “โรงเรียนกำเนิดวิทย์” (KVIS) เพื่อจัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้กับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยวิจัย “สถาบันวิทยสิริเมธี” (VISTEC) ที่เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มี เป้าหมายที่จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ติด 1 ใน 50 อันดับของโลก และผลิตบุคลากรระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในโลกอนาคต

อ้างอิง
https://www.mckinsey.com
https://www3.weforum.org
https://www.kvis.ac.th
https://www.pttgcgroup.com

หัวข้อที่น่าสนใจ