3 เทรนด์พลังงานหมุนเวียน 2022
ภูมิอากาศในอนาคตมีความแตกต่างจากอดีตและปัจจุบัน ที่เราทุกคนจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทรนด์พลังงานสะอาดเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น กับการก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ลดคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2065-2070 ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้รัฐ-เอกชนต้องเร่งปรับนโยบาย มุ่งสู่ “พลังงานสะอาด” ซึ่งไม่เพียงแค่รักษาอุณหภูมิโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
แนวโน้มนวัตกรรมพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด กับความจำเป็นของภาคธุรกิจในการปรับตัว ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างให้ความสนใจต่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด พลังงานสีเขียว ที่ลดการปล่อยมลพิษ ลดต้นทุนด้านการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และน้ำซึ่งมีมานานแล้ว แต่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โดยเราจะมาดู 3 นวัตกรรมพลังงานสะอาดที่น่าสนใจปี 2565
1. พลังงานแสงอาทิตย์
นวัตกรรมการเปลี่ยนพลังงานรังสีอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเทคโนโลยีหลักมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ แบ่งเป็น
1.การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมแสง (Concentrated Solar Power) เป็นเทคโนโลยีที่ดึงเอาพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาต้มน้ำจนเดือดและแปลงไปเป็นกระแสไฟฟ้าผ่านกังหันไอน้ำ และแบบที่ 2.เทคโนโลยีโฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic) เป็นวิธีการที่ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาจากแสงอาทิตย์โดยตรงผ่าน นวัตกรรมเหล่านี้ทำควบคู่ไปกับการออกแบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดและผลผลิตสูง และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
อาทิกรณีของ บ.Lusoco ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่พัฒนาเทคโนโลยี luminescent วัสดุที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสงร่วมกับหมึกเรืองแสงเพื่อรวมแสงไปที่ขอบที่วางแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง นอกจากนี้ การเคลือบฟลูออเรสเซนต์ยังปล่อยแสงในตอนกลางคืน ทำให้สามารถแสดงป้ายได้อย่างยั่งยืน สารละลายนี้เก็บพลังงานโดยคงไว้ซึ่งความสวยงาม อาทิ เช่น เแว่นตาเรืองแสงจึงเหมาะสำหรับใช้ในยานยนต์ ป้ายโฆษณา ป้ายไฟ และการออกแบบภายใน เป็นต้น
2.พลังงานมหาสมุทร
พลังงานที่ได้มาจากการเคลื่อนที่ของมหาสมุทร นับเป็นอีกแหล่งพลังงานที่ทั่วโลกสนใจ โดยมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานจากคลื่น (Wave energy) ในมหาสมุทรที่ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างน่าสนใจ อาทิ พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงจากพลังงานศักย์พลังงานกระแสน้ำจากน้ำขึ้น-น้ำลง พลังงานคลื่น พลังงานจากความแตกต่างของอุณหภูมิ และพลังงานจากความแตกต่างของความเค็ม
เช่นบ. Seabased สัญชาติไอร์แลนด์ที่พัฒนาตัวแปลงพลังงานคลื่นจากมหาสมุทร โดยจุดเด่นของเทคโนโลยีพลังงานคลื่นในทะเลคือความเรียบง่ายที่แข็งแกร่ง โดยควบคุมพลังของคลื่นทะเลโดยใช้ตัวแปลงพลังงานคลื่น (WECs) หรือ ‘ทุ่น’ ที่ลอยบนผิวโดยเมื่อทุ่นคลื่นที่จากกระแสของคลื่นก็จะแปลงมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เป็นต้น
3. พลังงานลม
ลมเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่เก่าแก่ที่สุด โดยใช้ ‘กังหันลม’ ในการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม ขณะที่ปัจจุบันพลังงานลมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด
อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมของพลังงานจากลมมักจะรวมเข้ากับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น กังหันลมแบบลอยน้ำ หรือพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง อาทิ Hydro Wind Energy บ.ที่คิดค้น OceanHydro ระบบพลังงานไฮบริด (ลม + น้ำ) ที่ควบคุมลมจากระดับความสูงนอกชายฝั่งโดยใช้ว่าวหรือใบพัดลมแกนตั้งร่วมกับแรงดันมหาสมุทรใต้ทะเลเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า และมีการจัดเก็บพลังงานที่เชื่อถือได้แถมมีต้นทุนต่ำ
จะเห็นว่าในปัจจุบันรูปแบบการนำพลังงานมาปรับใช้มีความหลากหลายมากขึ้น สิ่งสำคัญเกิดขึ้นจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับเทรนด์เรื่องความยั่งยืนด้านพลังงาน พลังงานที่เป็นมิตรต่อโลก และพลังงานที่ช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการใช้พลังงานในรูปแบบหมุนเวียนจะเป็นสิ่งที่เห็นได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
ขณะที่ภาคเอกชนต่างตื่นตัวต่อเรื่องนี้อย่างมาก “นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศจุดยืนอนาคตมุ่งไปสู่พลังงานสีเขียวและไฟฟ้ามากขึ้น
ปตท.พร้อมลงทุนธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการลงทุนพลังงานทดแทนให้ได้ 12,000 เมกะวัตต์ โดยวางกลยุทธ์ 2 ส่วน 1.พลังงานอนาคต (future energy) อาทิ การมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและ 2.พลังงานไฟฟ้า ธุรกิจแบตเตอรี่และการกักเก็บพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ “go green” และ “go electric” มากขึ้น
พร้อมวางกลยุทธ์ PTT Group Clean and Green Strategy เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ลง 15% จากปริมาณการปล่อยคาร์บอนปี 2020 และกำลังทบทวนเป้าหมายการมุ่งสู่ net zero ของกลุ่มให้เร็วขึ้น
อ้างอิง
http://prp.trf.or.th
http://prp.trf.or.th
https://www.prachachat.net
https://www.bangkokbanksme.com
https://lusoco.com
https://www.crystals.no
https://seabased.com
https://hw.energy/