เครื่องหมายบนพลาสติกชนิดต่างๆ บอกอะไรเรา
หนึ่งในวิธีหลักในการลดปัญหาพลาสติกที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือการนำของที่เคยใช้งานแล้วมาผ่าน กระบวนการแปรรูปหรือปรับปรุงคุณภาพให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ‘กระบวนการรีไซเคิล’ เช่น นำขวดพลาสติกมาหลอมแล้วฉีดขึ้นรูปใหม่เป็นเก้าอี้พลาสติก ในกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติก ขั้น ตอนแรกคือการนำขยะพลาสติกมาแยกประเภท เพราะพลาสติกแต่ละชนิดมีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลไม่เหมือนกัน และไม่ใช่พลาสติกทุกประเภทจะนำไปรีไซเคิลได้ ต้องคัดแยกกลุ่มเดียวกันไว้ด้วยกันก่อน จึงจะนำ ไปแปรรูปกลับเป็นเมล็ดพลาสติกหรือน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อขึ้นรูปใหม่ได้
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำไปรีไซเคิลได้จะมีสัญลักษณ์ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าอยู่บนฉลาก หรือบนตัวบรรจุภัณฑ์ ภายในสัญลักษณ์สามเหลี่ยมด้านเท่านี้ จะมีหมายเลขบอกประเภทของพลาสติกอยู่ โดยมีทั้งหมด 7 ประเภท
หมายเลข 1 คือโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) ชื่อย่อ PET,PETE มักจะใช้ทำบรรจุภัณฑ์ประเภทขวดใสต่างๆ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม น้ำมันพืช เพราะมี คุณสมบัติ ใส เหนียว ป้องกันการซึมผ่านของของเหลวได้ดี น้ำหนักเบา สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใย สังเคราะห์ สามารถนำไปถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มหรือกระเป๋าได้
หมายเลข 2 คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ชื่อย่อ HDPE คุณสมบัติ แข็ง แตกยาก ทนต่อการทำละลายและความร้อน มักใช้ทำบรรจุภัณฑ์ประเภทขวดขุ่น เช่น ขวดนม ถ้วยโยเกิต ขวดแชมพู ใช้ทำโต๊ะเก้าอี้ หรือถังน้ำมันรถยนต์ เป็นต้น สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นแกลลอน น้ำมันเครื่อง ลังพลาสติก ไม้เทียมได้
หมายเลข 3 คือ โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) ชื่อย่อ PVC คุณสมบัติ ทนทาน สารเคมี ทนทานการขัดถู นำมาใช้ทำท่อน้ำประปา สายยาง ประตูพลาสติก หนังเทียม พลาสติกชนิดจะปล่อย สารพิษออกมาเมื่อได้รับความร้อนจึงไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกชนิดนี้กับอาหาร และไม่ควรทำลาย ด้วยการเผา สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นกรวยจราจร ม้านั่งพลาสติก
หมายเลข 4 คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) ชื่อย่อ LDPE คุณสมบัติ ทนความเย็นแต่ไม่ทนความร้อน ใส นิ่ม เหนียว ยืดหยุ่น มักใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร ถุงสำหรับแช่ แข็ง ถุงขนมปัง สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นถุงหูหิ้วพลาสติกแบบบาง ถุงดำ ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น
หมายเลข 5 คือ โพลีโพรพิลีน (Poly propylene) ชื่อย่อ PP คุณสมบัติ ใส ทนต่อความร้อน สูง ปลอดภัยที่จะใช้กับอาหาร จึงนิยมใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร หลอดดูดน้ำ กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา ส่วน ใหญ่สามารถใช้อุ่นในไมโครเวฟได้ แต่ควรดูว่ามีสัญลักษณ์ microwave safe หรือไม่ควบคู่ด้วยเสมอ สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ ไม้กวาด พลาสติก
หมายเลข 6 คือ โพลีสไตรีน (Polystyrene) ชื่อย่อ PS คุณสมบัติ ใส ราคาถูก เบา เปราะ แตกง่าย มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อนส้อมพลาสติก ถ้วยโฟม เมื่อได้รับความร้อน สามารถปล่อยสารก่อมะเร็งออกมาได้ ไม่ควรใช้ซ้ำหลายครั้ง สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ฉนวนความ ร้อน แผงไข่
หมายเลข 7 คือพลาสติกชนิดอื่นๆที่รีไซเคิลได้ มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี มักใช้ในการผลิตปากกา หมวกนิรภัย ไฟจราจร ป้ายโฆษณา โดยส่วนใหญ่มีสาร Bisphenol A (2-4) หรือ BPA ที่มีผลต่อฮอร์โมนทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ ลด ศักยภาพการทำงานของร่างกาย และเมื่อได้รับความร้อน เข้าไมโครเวฟ หรือเมื่อใช้สารที่เป็นกรดหรือด่าง BPA ก็จะยิ่งละลายออกมาปนเปื้อนมากขึ้น จึงไม่ควรใช้พลาสติกประเภทนี้บรรจุอาหาร สามารถนำไปรีไซเคิล เป็นกระสอบปุ๋ย ถุงขยะ
สำหรับการเตรียมขยะพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้ง 7 ชนิดก่อนทิ้ง ควรนำฉลากออก แยกฝาและขวดออกจากกัน (เนื่องจากเป็นพลาสติกคนละชนิดกัน) ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกก่อนที่จะแยกตามหมายเลข ทีนี้ขยะพลาสติกก็จะสามารถเดินทางสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ริเริ่มโครงการ “YOUเทิร์น” ที่รับขยะพลาสติกรีไซเคิลเพื่อสะสมคะแนนมาแลกของรางวัลได้ โดยจะมีจุดรับพลาสติกสะอาดของ YOUเทิร์น (YOUเทิร์น Drop Point, Drop Point for Clean Plastic) ตั้งกระจายในหลายพื้นที่ ใน PTT Station 19 สาขา และจุดอื่นๆ ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล และยังคงขยายจุดตั้ง YOUเทิร์น Drop Point ร่วมกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนได้ทิ้งขยะพลาสติกได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
อ้างอิง
littlebiggreen.co
www.wongkarnpat.com
sustainability.pttgcgroup.com
www.facebook.com