แบตเตอรี่ เซลล์พลังงานแห่งอนาคต
แบตเตอรี่ คืออุปกรณ์กักเก็บและให้พลังงานที่ ใช้หลักการเปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทให้เข้าใจง่ายๆ คือ แบบใช้แล้วทิ้ง และแบบที่นำกลับมาชาร์จประจุใหม่ได้
แบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้งที่เราพบเห็นได้ทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อยคือ
- ถ่านไฟฉายธรรมดา (Zinc-carbon battery) ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างคาร์บอนและสังกะสี เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ในไฟฉาย วิทยุ และของเล่น
- แบตเตอรี่ซิลเวอร์ออกไซด์ (Silver-oxide battery) เป็นเซลล์พลังงานที่มีอายุการใช้งานนานและมีพลังงานสูง สามารถใช้ได้ดีทั้งในอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด เรียกกันสั้นๆว่าแบตเตอรี่เงิน จะเห็นได้ทั่วไปในเครื่องคิดเลข และนาฬิกาข้อมือ
- ถ่านอัลคาไลน์ (Alkaline battery) ถ่านไฟฉาย ที่เราคุ้นเคย เห็นกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน นิยมใช้กันเป็นจำนวนมาก ให้พลังงานได้ยาวนานกว่าถ่านปกติมาก แต่ข้อเสียคือประสิทธิภาพลดลงอย่างมากในอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ
แบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาชาร์จประจุ สามารถพบเห็นอยู่รอบๆตัวเรา หลักๆแล้วมี 3 แบบ
- แบตเตอรี่กรดตะกั่ว (Lead-acid battery) เป็นแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟยุดแรกของโลก ที่พบเห็นทั่วไปเช่นแบตเตอรี่รถยนต์ และถูกใช้เป็นแบตสำรองสำหรับโรงงาน เป็นแบตเตอรี่ที่มีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบอัตราส่วนกำลังงานต่อน้ำหนัก แต่ก็เป็นแบตเตอรี่ที่ก่อให้เกิดสารมลพิษสูงเช่นกัน
- แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel metal hydride battery) มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก เรียงรวมกันเป็นแถว พบได้ในหน่วยสำรองไฟฟ้า (UPS) หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่น และรถยนต์ไฟฟ้า
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-ion battery) ใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บประจุไฟในปริมาณมาก เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ และ แบตเตอรี่สำรอง (Power bank) เป็นแบตเตอรี่ยุคใหม่ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เก็บประจุได้มาก และไม่ก่อมลพิษ จนขึ้นมาทดแทนแบตเตอรี่แบบเก่าๆบางประเภทเช่นแบตกรดตะกั่ว และแบตนิกเกิ้ลได้
สำหรับประเทศไทยเริ่มตื่นตัวทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมรวมถึงการรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นโครงการแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ร่วมบริษัทในเครือ ดำเนินโครงการโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในประเทศไทย, โครงการวิจัยแบตเตอรี่ต้นแบบด้วยเทคโนโลยี Semi-solid จากกล่ม ปตท., หรือแม้แต่โครงการวิจัยแบตเตอรี่ลิเธียมซัลเฟอร์จากกระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เพื่อตอบสนองตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนของโลกที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 90,600ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2024
ปัจจุบัน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. ได้ริเริ่มธุรกิจใหม่ นั่นคือ โรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงานด้วยเทคโนโลยี Semi-solid แห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ที่พัฒนาแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน ผสานกับเทคโนโลยี Solid State (แบตแข็งที่ไม่มีของเหลวอยู่ด้านใน) เข้าด้วยกัน โดยมีจุดแข็งคือการกักเก็บพลังงาน อายุการใช้งานที่ยาวนาน การชาร์จและนำพลังงานออกมาใช้อย่างรวดเร็ว เพื่อดำเนินการตามพันธกิจขององค์กรณ์ในการแสวงหานวัตกรรมด้านไฟฟ้าและสาธารณูปโภค เพื่อการบริหาร จัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวทางพลังงาน อัจฉริยะ มุ่งสู่การเป็นผู้นำโซลูชั่นบริหารพลังงานครบวงจร เราจึงเป็นมากกว่าโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะวางแผนและดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: https://www.facebook.com/CareShareAndRespect/posts/4000256743420028